เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- บทว่า อิตฺถิโผฏฺฐพฺโพ
ความว่า สัมผัสกายของหญิง สัมผัสแม้ของผ้า เครื่องประดับ และ
ระเบียบดอกไม้เป็นต้น ที่อยู่กับตัวหญิง พึงทราบว่าโผฏฐัพพะหญิง
ทั้งนั้น. ก็ผัสสะ ทั้งหมดนั้น ย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่ เหมือน
ผัสสะที่เป็นวิสภาคารมณ์ (อารมณ์ที่เป็นข้าศึก) ของภิกษุหนุ่มผู้
กำลังสาธยายเป็นคณะอยู่ที่ลานแห่งมหาเจดีย์.

ดังนั้น พระศาสดา จึงถือเอาอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้นอย่าง
หนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งอาสยะ (อัธยาศัย) และอนุสัย (กิเลศที่นอนเนื่อง
ในสันดาน) ของสัตว์ทั้งหลาย จึงตรัสว่า เรามองไม่เห็น อารมณ์อื่นเช่นนี้.
เหมือนอย่างว่า รูปหญิงย่อมเข้าถึงจิตตุปบาทของบุรุษผู้หนักในรูป
ย่อมพัวพัน ให้เมา ให้มัวเมา ให้หลง ให้ลุ่มหลง ฉันใด เสียงเป็นต้น
ที่เหลือ หาเป็นฉันนั้นไม่. อนึ่ง เสียงเป็นต้น ย่อมเข้าถึงจิตตุปบาทของ
บุรุษผู้หนักในเสียงเป็นต้น ฉันใด1 อารมณ์มีรูปเป็นต้นหาเป็นฉันนั้นไม่
เพราะบรรดาอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น อารมณ์เดียวเท่านั้น ย่อม
ครอบงำจิตของบุรุษบางคน. สำหรับบุรุษบางคน 2 อารมณ์บ้าง
3 อารมณ์บ้าง 4 อารมณ์บ้าง 5 อารมณ์บ้าง ครอบงำจิต. ดังนั้น

1. ปาฐะว่า ตถา เสสา สทฺทาทโย ฯ ยถา จ สทฺทาทิครุกานํ สทฺทาทโย ตถา รูปาทีนิ
อารมฺมณหิ พม่าเป็น น ตถา เสสา สทฺทาทโย. ยถา จ สทฺทาทิครุกานํ สทฺทาทโย, น ตถา
รูปาทีนิ อารมฺมณานิ. แปลตามพม่า

สูตรทั้ง 5 สูตรนี้ พระองค์ตรัสแล้ว ด้วยอำนาจบุคคลผู้หนักในอารมณ์
5 อย่าง ไม่ตรัสด้วยอำนาจปัญจครุกชาดก. ส่วนปัญจครุกชาดก ก็ควร
นำมากล่าว เพื่อเป็นพยาน. จริงอยู่ ในชาดกนั้น เมื่อพวกอมนุษย์พากัน
จัดร้านตลาดกลางทางกันดาร บรรดาสหาย 5 คนของมหาบุรุษ
สหายผู้หนักในรูป ติดอยู่ในอารมณ์ ถึงความย่อยยับ ผู้หนักในเสียง
เป็นต้น ติดอยู่ในสัททารมณ์เป็นต้น ก็ถึงความย่อยยับ. เรื่องที่เป็น
อดีต ควรนำมากล่าวเพื่อเป็นพยาน

ก็พระสูตรทั้ง 5 นี้ พระองค์ตรัสด้วยอำนาจบุคคลผู้หนัก
ในอารมณ์ 5 อย่างเท่านั้น ก็เพราะเหตุที่ไม่ใช่แต่ผู้ชายอย่างเดียว
เท่านั้น เป็นผู้หนักในอารมณ์ทั้ง 5 แม้หญิงก็เป็นผู้หนักเหมือนกัน
ฉะนั้น พระองค์จงตรัส พระสูตร ทั้ง 5 อีก ด้วยอำนาจหญิงผู้หนัก
ในอารมณ์แม้เหล่านั้น. เนื้อความแห่งพระสูตรแม้นั้น พึงทราบโดย
นัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

แม้บรรดาเรื่องทั้งหลาย ในสูตรที่ 1 พึงทราบเรื่องของสนม
ของมหาราชา ผู้มองดูภิกษุหนุ่ม ซึ่งยืนอยู่ที่ประตูแห่งโลหปราสาท
แล้วก็ตายไป เรื่องนั้นกล่าวไว้พิสดารแล้วตอนต้นนั่นแล.

ในสูตรที่ 2 พึงทราบเรื่องหญิงผู้อาศัยรูปเลียงชีพในกรุง
สาวัตถี. เล่ากันมาว่า นักดีดพิณ ชื่อว่า คุตติละ ได้ส่งทรัพย์ 1,000
ไปให้หญิงคนหนึ่ง นางกลับเย้ยหยัน ไม่ปรารถนาจะรับ เขาคิดว่า
เราจักทำสิ่งที่ควรทำในเรื่องนี้ เวลาจวนจะเย็น จึงแต่งตัวนั่งที่ประตู

แห่งหนึ่งตรงหน้าเรือนของนาง ขึ้นสายพิณเหมาะเจอะดีแล้ว จึงขับร้องคลอ
ไปกับเสียงพิณ. หญิงนั้นได้ยินเสียงเพลงขับของเขา คิดว่า เราจัก
ไปหาเขาทางหน้าต่างที่เปิดไว้ ด้วยความสำคัญว่า ประตู ก็พลัดตก
ลงไปถึงสิ้นชีวิต.

ในสูตรที่ 3 พึงทราบ กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากพระกาย และ
กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากพระโอษฐ์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์ เรื่องนี้ควร
นำมาแสดง ก็ในข้อนี้พึงทราบเรื่อง ดังต่อไปนี้ :-

เล่ากันมาว่า สามีของธิดาแห่งกุฏุมพีผู้หนึ่ง ในกรุงสาวัตถี
ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา คิดว่า เราเป็นคฤหัสถ์ ไม่
สามารถจะบำเพ็ญธรรมนี้ได้ จึงบวชในสำนักของพรูปิณฑปาติก
เถระ (พระเถระผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร) รูปหนึ่ง. ครั้งนั้น พระเจ้า-
ปเสนทิโกศล ทรงทราบภรรยาของเขาว่า หญิงผู้นี้ไม่มีสามี จึงโปรดให้
คนนำมาอยู่ในพระราชวัง วันหนึ่ง ทรงถือเอากำดอกอุบลบัวขาบกำหนึ่ง
เสด็จเข้าไปในพระราชวัง โปรดให้ประทานดอกอุบลแก่หญิงคนละดอก.
เมื่อแบ่งกันอยู่ ดอกอุบล 2 ดอก ได้ถึงมือของหญิงนั้น. หญิงนั้น แสดง
อาการร่าเริง สูดมแล้วก็ร่ำไห้. พระราชาทรงเห็นอาการทั้ง 2 ของนาง
จึงรับสั่งให้เรียกนางมาตรัสถาม. ฝ่ายนางกราบทูลเหตุที่ตนยินดี และร้องไห้
ให้ทรงทราบ. แม้เมื่อนางกราบทูลถึงครั้งที่ 3 พระราชาไม่ทรงเชื่อ วัน
รุ่งขึ้น จึงรับสั่งให้คนขนเอาของหอม ที่มีกลิ่นอย่างดี มีระเบียบดอกไม้
และเครื่องลูบไล้เป็นต้นทุกอย่าง ในพระราชนิเวสน์ออกไป ให้ปู
อาสนะสำหรับภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ถวายมหาทาน

แด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ในเวลาเสร็จภัตกิจ ตรัส
ถามหญิงนั้นว่า พระเถระรูปไหน เมื่อนางกราบทูลว่า รูปนี้ ทรงทราบ
แล้วถวายบังคมพระศาสดา แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ภิกษุสงฆ์จงไปกับพระองค์ พระเถรรูปโน้น ของข้าพระองค์จัก
กระทำอนุโมทนา. พระศาสดาเว้นภิกษุรูปนั้นไว้ แล้วเสด็จไปยัง
พระวิหาร. พอพระเถระเริ่มกล่าวอนุโมทนา ทั่วพระราชนิเวสน์
เป็นเหมือนเต็มไปด้วยกลิ่นหอม. พระราชาทรงเลื่อมใสว่า นางพูด
จริงทีเดียว วันรุ่งขึ้นจึงถามถึงเหตุนั้นกะพระศาสดา. พระศาสดา
ตรัสบอกว่า ในอดีตกาล ภิกษุรูปนี้ฟังธรรมกถา เปล่งสาธุการว่า
สาธุ สาธุ ไม่ขาดสาย ได้ฟังโดยเคารพ ดูก่อนมหาบพิตร ภิกษุนั้น
ได้อานิสงส์นี้มีการเปล่งสาธุการนั้นเป็นมูล

ในเวลาฟังแสดงพระสัทธรรม เมื่อภิกษุนั้น
กล่าวว่า สาธุ สาธุ กลิ่นหอมเกิดจากปาก ฟุ้งไป
เหมือนกลิ่นดอกอุบล ฉะนั้น.


คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล ในวรรคนี้ท่านกล่าวแต่
เรื่องทั้งนั้น. บาลีว่าด้วยรูปจบ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 5

จบ อรรถกถารูปาทิวรรคที่ 1

นีวรณปหานวรรคที่ 2



ว่าด้วยเหตุเกิดนิวรณ์ 5



[12] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเป็นไปเพื่อ
ความยิ่งใหญ่ขึ้นแห่งกามฉันทะที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังสุภนิมิต
(นิมิตงานคืออารมณ์ชวนกำหนัด ) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
บุคคลทำในใจโดยไม่แยบคายซึ่งสุภนิมิตเข้า กามฉันทะที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้นด้วย กามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่
ขึ้นด้วย.
[13] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเป็นไปเพื่อ
ความยิ่งใหญ่ขึ้นแห่งพยาบาทที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังปฏิฆนิมิต
(นิมิตกระทบใจ คืออารมณ์ชวนขัดเคือง) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
บุคคลทำในใจโดยไม่แยบคายซึ่งปฏิฆนิมิต พยาบาทที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่
ขึ้นด้วย.
[14] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเป็นไปเพื่อ
ความยิ่งใหญ่ขึ้นแห่งถีนมิทธะที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังความไม่ยินดี
(ในอธิกุศล) ความคร้าน ความบิดกาย (ด้วยความเกียจคร้าน) ความ
เมาอาหาร และความหดหู่แห่งจิตนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ